top of page

เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา

1. เทคโนโลยีไมโครเวฟสำหรับการสังเคราะห์ทางเคมี

       การพัฒนาทางเคมีด้วย Microwave chemical synthesis reactor จะมีการสังเคราะห์ Nano-materials และ Functional materials ต่าง ๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดโลหะหนักตกค้างในอาหาร สารปนเปื้อนในน้ำ เป็นต้น การใช้ Microwave plasma ร่วมสารตัวเร่ง (catalyst) เพื่อเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารที่มีมูลค่าและไม่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก โดยจะดำเนินการโดยนักวิจัยของ FunTech และนักวิจัยของเครือข่ายในประเทศและนานาชาติด้วยทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น FF fund, PMUB, PMUC, สกว และ วช.

การประยุกต์ใช้ไมโครเวฟในการสังเคราะห์มางเคมี.jpg

แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟสู่งานวิจัย สามารถทำได้อย่างไรและไมโครเวฟเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานาโนเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนได้อย่างไร

        บทความวิจัยเรื่อง Microwave-assisted ultrafine silver nanoparticle synthesis using Mitragyna speciosa for antimalarial applications ซึ่งจัดทำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภารวี รัตรกิจ และคณะ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียของอนุภาคนาโนเงินที่ถูกสังเคราะห์ด้วยสารสกัดจากใบกระท่อม โดยเน้นการใช้เทคนิคไมโครเวฟซึ่งช่วยให้การสังเคราะห์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง โดยอนุภาคนาโนเงินที่ได้มีรูปร่างทรงกลม ขนาด 2-5 นาโนเมตร มีความเสถียรสูง และสามารถต้านเชื้อ P. falciparum ได้ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1.56 µg mL−1 เมื่อปรับปรุงหมู่ฟังก์ชันของอนุภาคนาโนเงินด้วยยา Chloroquine (CQ) พบว่าประสิทธิภาพต้านเชื้อมาลาเรียเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีค่าค่า IC50 เป็น 24 ng mL−1

        อนุภาคนาโนเงินที่สังเคราะห์ด้วยเทคนิคไมโครเวฟนี้มีความเป็นพิษต่ำ (ค่า CC50 มากกว่า 800 µg mL−1 ใน Vero Cell) นอกจากนี้งานวิจัยยังได้ศึกษาเชิงคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เข้าใจปฏิกิริยาระหว่างอะตอมเงินและสารออกฤทธิ์ในใบกระท่อม รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างอนุภาคนาโนเงินและยา CQ การใช้คลื่นไมโครเวฟในงานวิจัยนี้มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินที่รวดเร็วและมีการควบคุมขนาดและคุณสมบัติของอนุภาคได้อย่างแม่นยำ ช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มความยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ไมโครเวฟเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานาโนเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน

สามารถตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่

https://doi.org/10.1515/gps-2023-0257

2. เทคโนโลยีไมโครเวฟสำหรับการ Pyrolysis

ช่องทางการติดต่อ

ศูนย์กลางความรู้ด้านการให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ

ตั้งอยู่ที่ตึกนวัตกรรมโซน C ชั้น 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เบอร์โทร: 075-672941 คุณดาว (เลขานุการศูนย์ฯ)

อีเมล: microwavehubth@gmail.com

Facebook: Hub of Knowledge Microwave Heating

Youtube: Hub of Knowledge Microwave Heating

QR FB.jpg
  • Facebook
  • YouTube
  • LinkedIn

ส่งข้อความติดต่อทางศูนย์ได้ที่นี่

© 2024 Microwave Heating Hub. Powered and secured by Wix

bottom of page